วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมเรียกว่าขนมจีน


 
ขนมจีน

          ขนมจีนเป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้านิยมรับประทานคู่กับน้ำยา น้ำพริก แกงเผ็ดหรือจะนำมาทำเป็นขนมจีนชาวน้ำก็อร่อยไปอีกแบบ
นอกจากจะรู้จักกันในชื่อขนมจีนแล้ว ยังมีชื่อเรียกอื่นๆตามแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย เช่น ทางภาคเหนือจะเรียกว่า ขนมเส้น ส่วนทางภาคอีสานจะเรียกว่า ข้าวปุ้น ขนมจีนนั้นจัดอยู่ในประเภทอาหารคาวแต่ทำไมจึงมีชื่อเรียกว่าขนม และเป็นอาหารของชาติใดกันแน่? หรือว่าเป็นอาหารของชาวจีน เพราะคำว่าจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง?
จริงๆแล้วขนมจีนเป็นอาหารของชาวมอญหรือชาวรามัญ ชาวมอญจะเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน โดยคำว่า คนอม แปลว่า จับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วนคำว่า จิน แปลว่าการทำให้สุก ซึ่งคำว่า คนอม ก็มีการออกเสียงใกล้เคียงกับคำไทยว่า เข้าหนม ที่แปลว่าข้าวที่นำมาหนวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งต่อมาคำนี้ก็ได้เพี้ยนมาเป็น ขนม ดังนั้นคำว่า ขนมในความหมายดั้งเดิมจึงไม่ได้แปลว่าของหวานอย่างที่เราใช้และเข้าใจกันในปัจจุบัน

            ขนมหรือ หนม (ภาษาเขมร) และคนอม (ภาษามอญ) ต่างก็หมายถึงอาหารที่ทำมาจากแป้ง คำว่า ขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า คนอมจิน ของชาวมอญนั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ใดทำผิวแห้ง ?

     สาวๆรู้ไหมมีผลิตภัณฑ์หลายชนิดเลยที่เรามักใช้เป็นประจำโดยที่ไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะทำให้ผิวแห้ง เรามารู้จักผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวแห้งกันดีกว่า
เริ่มจาก เจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำที่เรากำลังนิยมใช้กันมาในขณะนี้เนื่องจากสะดวกสบายในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ต้องเสียเวลาหาน้ำมาล้างมืออีกครั้ง แต่รู้กันไหมว่าเจลล้างมือแบบไม่ใช้น้ำมีส่วนผสมที่เป็นแอลกอฮอล์เยอะมากและแอลกอฮอล์นี่แหละที่ทำให้มือยิ่งแห้ง และเล็บยังเปราะง่ายด้วย
นอกจากนี้ สบู่ ก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราต้องใช้ประจำและทำให้ผิวแห้งมาก เช่นกัน เพราะสารที่ทำให้เกิดฟองในสบู่จะทำให้ผิวสูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงตามธรรมชาติไป ผลิตภัณอีกชนิดหนึ่งที่หลายคนไม่ล่วงรู้เลยว่าทำให้ผิวแห้งได้ก็คือ “ลิปบาล์ม”

   เพราะลิปบาร์มที่ทาแล้วเย็นมีส่วนผสมของเมนทอลกับการบูร และสารทั้งสองตัวนี้แหละที่เป็นตัวการทำให้ริมฝีปากแห้งได้ ลองเปลี่ยนมาใช้ลิปกรอส ลิปมัน หรือวาสลีนกันดีกว่า

สิ่งที่ทำลายเวลาของเรา

คุณเคยเป็นแบบนี้บ้างหรือไม่ ??

ตื่นตีห้ามา ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ออกไปทำงาน ...
เผลอแป๊บเดียว...ห้าโมงเย็นแล้ว...
กลับถึงบ้าน เปิดทีวี เปิดคอมฯ เล่นเฟซบุ๊ค...
เผลออีกที...ห้าทุ่มแล้ว...

ผ่านไปหนึ่งวันไม่รู้สึกอะไร...
เผลออีกที...หนึ่งปีแล้ว...

ปีนี้พลาดไปไม่เป็นไร ปีหน้าแก้ตัวใหม่...
เผลออีกที...สิบปีแล้ว...

..เวลาหายไปไหน..

..ใครขโมยเวลาเราไป..

ไม่ต้องตามหาที่ไหน.. ไม่ต้องโทษใคร.. เราเองแหละที่ทำให้เวลามันเสียไปเอง

แล้วเวลามันเสียไปได้อย่างไร เก็บไว้นานมันเลยบูดไปเหรอ..

ไม่ใช่หรอก แต่เพราะเราไม่เข้าใจหลักการของเวลาต่างหาก..

ณ ที่นี้ มี 4 สิ่งที่ทำลายเวลาของเรา ซึ่งพวกเราเกือบทุกคน ต่างก็หลงอยู่กับทั้ง 4 สิ่้งนี้ไม่มากก็น้อยน่ะแหละ

สิ่งแรกก็คือ "มือถือ ทีวี เฟซบุ๊ค และเทคโนโลยีสมัยใหม่อื่นๆ"

ไม่เชื่อหรือ ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็น "เพชรฆาตเวลา" ตัวฉกาจเลยทีเดียว

ถ้าไม่เชื่อ พรุ่งนี้คุณลองนั่งนับเวลาที่คุณใช้กับมือถือ (โดยเฉพาะพวกสมาร์ทโฟน เช่น ไอโฟน บีบี) เวลาที่คุณอยู่กับทีวี (ไม่ว่าจะดูละครน้ำเน่า ซีรี่ส์เกาหลี เกมโชว์ หรือคอนเสิร์ตก็ตาม) แล้วมารวมกับเวลาที่คุณอยู่กับเฟซบุ๊ค (หรืออาจเป็น social networking อื่นๆ ก็แล้วแต่)

ลองนับดูนะ..คุณอาจต้องตกใจ..
เพราะสำหรับบางคน มันอาจมากกว่าเวลาที่คุณใช้ในการทำงานในแต่ละวันเสียอีก.. (ก็แน่ล่ะ บางคนทำงานยังเล่นเฟซบุ๊คไป บีบีกับแฟนไปนี่นา)

อย่างที่สอง "คำบ่น" บ่นว่าสิ่งนั้นก็ไม่ดี สิ่งนี้ก็ใช้ไม่ได้ สิ่งนู้นไม่ได้ดั่งใจ บ่นๆๆๆๆๆๆ
เคยนับกันหรือไม่ครับว่า วันๆ หนึ่ง คุณใช้เวลากับการบ่นไปกี่ชั่วโมง

บางคนบอกว่าไม่มากหรอก เวลาที่ใช้บ่นอย่างมากแต่ละครั้งก็ไม่เกิน 1 นาที
แต่ลืมคูณไปหรือเปล่าครับ ว่าวันนี้บ่นไปกี่ครั้ง
บางคนบ่นทุกสิบนาที หนึ่งชั่วโมงก็เท่ากับบ่นไป 6 นาที
หนึ่งวันก็กลายเป็นใช้เวลาบ่นไป 144 นาที...อ้าว เฮ้ย! นั่นมันสองชั่วโมงกว่าเลยนะ

แน่นอนครับ เจอปัญหาคงอดบ่นไม่ได้ คงอดเล่าถึงปัญหาให้คนอื่นฟังไม่ได้

แต่เมื่อไหร่ที่เจอปัญหาจนอยากบ่น ขอให้จำไว้ว่า

"จงใช้เวลาแค่ 20% เพื่อพูดถึงปัญหา แต่จงใช้เวลา 80% ในการแก้ปัญหานั้น"

นี่แหละครับ เคล็ดลับของการบริหารเวลาแบบมืออาชีพ

อย่างที่สาม "การพยายามทำให้คนอื่นพอใจ" ก็เป็นอีกสิ่งที่หนึ่งที่ทำให้เราเสียเวลามาก
เพราะไม่ว่าเราจะดีขนาดไหน...ก็จะมีบางคนที่จะไม่มีวันที่จะชอบเรา
ไม่ว่าเราจะพยายามทำดีกับเขามากเท่าไหร่...แต่ก็จะมีบางคนที่ไม่ต้องการอยู่กับเราอย่างสันติสุข

เรามักเสียเวลาแสวงหาเพื่อนที่ไม่อยากเป็นเพื่อนเรา
แต่ลืมนึกไปว่า เวลาที่เสียไปนั้นเป็นเวลาที่เราควรจะใช้ไปกับคนที่อยากจะเป็นเพื่อนเรา
เราจึงเสียโอกาสที่จะมีเพื่อนดีๆ เพราะมัวแต่ไปมองหาเพื่อนที่ไม่ดี

อย่าลืมว่า เวลาของเรา มีค่าเกินกว่า จะเอาไปให้ใครที่ไม่เห็นคุณค่า

อย่างสุดท้าย "การคิดว่าตัวเราเองไม่สำคัญหรือไม่มีค่า"

เรามักชอบเสียเวลากับการมองหาตัวตน
แต่ไม่ได้ใช้มุมมองของเรา มองเราอย่างที่เราเป็น

เรามักชอบใช้ไม้บรรทัดของคนอื่น เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในชีวิตเรา

ถ้าเราไม่มีเท่าเขา ไม่เด่นไม่ดังเท่าเขา ถือว่าเรายังไม่สำเร็จ

ถ้าใครตอนนี้เป็นอย่างนี้

อยากให้ลองไปหาคนที่เป็นแบบนี้ แล้ววันนี้เค้าประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัดนั้น

แล้วถามเขาว่า..

วันนี้เขาดีใจหรือไม่กับความสำเร็จที่เค้าได้รับ

ผมเชื่อว่าคำตอบที่คุณจะได้รับ

คือ "ไม่"

เพราะเค้าพึ่งจะค้นพบว่า

ตลอดเวลา สิ่งที่เขาไล่ตาม.. คือความฝันของคนอื่น..

ไม่ใช่ของตัวเอง

และเมื่อความฝันของคนอื่นสำเร็จขึ้นมา ความสำเร็จนั้น ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรกับเรา
เพราะมันไม่ใช่ความฝันของเราที่สำเร็จ

มาถึงวันนี้ วันที่ชีวิตเราเดินกันมาขนาดนี้

อย่ามัวถามว่าเราเป็นใคร เรามีคุณค่าอะไร กันอีกเลย
ยอมรับในตัวตน เชื่อในการทรงสร้างของพระเจ้า ว่าพระเจ้าสร้างเรามาดี สร้างมาอย่างมีวัตถุประสงค์

เราไม่ใช่เหตุบังเอิญ เราไม่ใช่ผลผลิตของความผิดพลาดของโลกนี้

เพราะฉะนั้น เราทุกคนต่างมีคุณค่า
ขอเพียงเริ่มต้นลงมือ ใช้สิ่งที่เป็นเรา เป็นตัวขับเคลื่อนให้เรามุ่งสู่เป้าหมาย ที่เป็นของเราเอง

ทั้งสี่อย่างนี่ คือ สิ่งที่ทำให้เวลาเราเสียไป มันคือเพชรฆาตเวลาจอมวายร้าย ที่คอยเข่นฆ่าเวลาของเรา

ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้

ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของการจัดการความรู้ สามารถแบ่งออกเป็น 7 ปัจจัยหลัก ดังนี้
  1. Purpose | วัตถุประสงค์การจัดการความรู้ : ปัจจัยแรกที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการจัดการความรู้ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นบทบาทหลักของผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ที่ถูกต้องเป็นเครื่องกำหนดทิศทางและรูปแบบ ตลอดจนทัศนคติของบุคลากรภายในองค์การที่จะมีต่อการจัดการความรู้ องค์การที่กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ไว้เพียงแต่เพื่อให้ตอบตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดไว้ หรือเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ จะทำให้การจัดการความรู้กลายเป็นโครงการอีกหนึ่งโครงการที่เพิ่มภาระให้กับผู้ปฏิบัติงานและไม่เกิดประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์แต่อย่างใด ในขณะที่หากองค์การกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และพัฒนาองค์การ จะทำให้การจัดการความรู้มีสภาพเป็นเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาหรือการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาองค์การ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการความรู้แทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานประจำวันของบุคลากร ซึ่งไม่เพียงแค่ทำให้การจัดการความรู้ไม่เป็นภาระให้กับบุคลากร แต่ยังกลายเป็นเครื่องมือช่วยลดภาระให้กับบุคลากรได้ด้วย
  2. Policy | นโยบายการจัดการความรู้ : อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นบทบาทของผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ โดยเฉพาะนโยบายด้านการสร้างแรงจูงใจจากผลงานด้านการจัดการความรู้ องค์การที่ประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้ต่างมีการกำหนดนโยบายด้านการจัดการความรู้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักขององค์การ ทำให้บุคลากรทั้งหมดขององค์การรับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ และยินดีเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการความรู้
  3. Plan | แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ : ทิศทางที่ชัดเจนจะช่วยให้การดำเนินการไม่หลงทาง การจัดการความรู้จึงต้องการการกำหนดแผนแม่บทด้านการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลักได้แก่ วิสัยทัศน์ด้านการจัดการความรู้ขององค์การ พันธกิจด้านการจัดการความรู้ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ กลยุทธ์การจัดการความรู้ เป้าหมายและตัวชี้วัดของโครงการ ซึ่งเนื้อหาของแผนแม่บทการจัดการความรู้จะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัดผลความสำเร็จของการจัดการความรู้ได้อย่างชัดเจน เมื่อได้แผนแม่บทด้านการจัดการความรู้แล้ว จึงทำการย่อยแผนแม่บทออกเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีแต่ละปีต่อไป
  4. Process | กระบวนการที่เลือกใช้ในการจัดการความรู้ : กระบวนการในการจัดการความรู้ มีอยู่หลากหลายกระบวนการ สิ่งที่สำคัญจึงไม่ใช่ตัวกระบวนการว่ากระบวนการแบบใดดีกว่าแบบใด แต่เป็นการเลือกใช้กระบวนการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การ (อย่างไรก็ดี สำหรับหน่วยงานราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แนะนำกระบวนการจัดการความรู้ไว้ ซึ่งประกอบด้วย 7 ขั้นตอนหลัก และในปี 2553 ได้เพิ่มอีกหนึ่งขั้นตอน กลายเป็น 8 ขั้นตอน ถึงแม้ว่าในคู่มือของ สำนักงาน ก.พ.ร.จะมีการระบุไว้ว่า สามารถเลือกใช้กระบวนการแบบอื่นได้ แต่หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ก็มักเลือกใช้กระบวนการแบบของสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ง่ายต่อการถูกประเมิน และทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อทำการจัดการความรู้แล้วจะบรรลุตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้)
  5. Project Owners | ผู้รับผิดชอบโครงการ : องค์การส่วนใหญ่เมื่อเริ่มทำการจัดการความรู้ ก็จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยมีลักษณะเป็นองค์กรโครงการ ภาระหนักจึงตกอยู่กับคณะทำงานซึ่งมีทั้งงานที่เป็นงานประจำและงานที่เป็นโครงการ ทำให้การขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ขาดความต่อเนื่องในบางช่วงเวลา (โดยเฉพาะหน่วยงานจำนวนมากเลือกตั้ง ผอ.จากแต่ละกอง/สำนัก มาเป็นคณะทำงาน) หลายหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จได้แนะนำว่า ควรจะมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้โดยตรง และคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสมเข้ามารับหน้าที่ นอกจากนี้ หากเป็นองค์การขนาดใหญ่ ยังควรที่จะมีการสร้าง KM Agents ขึ้นมา เพื่อเป็นเสมือนต้นแบบนักจัดการความรู้ให้กับบุคลากรคนอื่นๆ ด้วย
  6. Participation | การมีส่วนร่วมจากบุคลากรทั้งหมดขององค์การ : การจัดการความรู้โดยตัวของมันเอง เป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการที่สามารถช่วยในการป้องกันและลดปัญหา อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนาองค์การด้วย แต่หากใช้ผิดวิธี การจัดการความรู้ก็อาจกลายเป็นภาระของบุคลากรได้ด้วยเช่นกัน เพื่อลดปัญหาบุคลากรมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการจัดการความรู้ การให้บุคลากรทุกระดับขององค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการด้านการจัดการความรู้ตั้งแต่ต้น จะสามารถช่วยลดแรงต่อต้าน และสามารถสร้างกระแสให้บุคลากรอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการจัดการความรู้ได้ด้วย
  7. Tools | การเลือกใช้เครื่องมือในการจัดการความรู้ : ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องมือที่สำคัญในการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้ คือ ระบบสารสนเทศสำหรับใช้ในการจัดเก็บรวบรวม เผยแพร่ และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยอาจเรียกว่าเป็น ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ การใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยจะทำให้บุคลากรทั่วทั้งองค์การสามารถเข้าถึงองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างไรก็ดีการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้จะต้องพิจารณาถึงวัฒนธรรมองค์การ ข้อจำกัดของฮาร์ดแวร์และระบบเครือข่าย ตลอดจนข้อจำกัดด้านความสามารถของบุคลากรในการใช้งานระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบขององค์การ

องค์ประกอบขององค์การ

องค์การแต่ละประเภทมีองค์ประกอบที่เหมือนกัน 5 องค์ประกอบ ได้แก่
  1. ผู้บริหารระดับสูง (Strategic Apex)
  2. ผู้บริหารระดับกลาง(Middle Line)
  3. เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ (Operating Core)
  4. ฝ่ายเสนาธิการ (Techno Structure)
  5. ฝ่ายสนับสนุน(Support Staff)

รูปแบบขององค์การ

มินซ์เบิร์กได้นำเสนอรูปแบบองค์การซึ่งมีความแตกต่างกันในองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ ไว้ 5 รูปแบบ ได้แก่
  1. The Simple Structure
  2. The Machine Bureaucracy
  3. The Professional Bureaucracy
  4. The Divisionalized Form
  5. The Adhocracy
องค์การแต่ละรูปแบบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญแตกต่างกัน เช่น องค์การแบบเรียบง่าย ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญคือ ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากเป็นทั้งผู้กำหนดทิศทาง ควบคุมการทำงาน ประสานงาน และในบางครั้งก็ต้องลงมือทำงานบางอย่างด้วย องค์การระบบราชการแบบเครื่องจักรกล จะมีมาตรฐานการทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด องค์ประกอบที่เป็นหัวใจจึงเป็นฝ่ายเสนาธิการซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานต่างๆ ให้กับองค์การ เป็นต้น
องค์การแบบเรียบง่ายจะเหมาะกับองค์การขนาดเล็กซึ่งอาจจะเล็กเนื่องจากพึ่งจะก่อตั้งใหม่ แต่เมื่อองค์การเริ่มมีการเติบโต มีพนักงานมากขึ้น ทำให้องค์การมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงเริ่มใช้รูปแบบระบบราชการ ซึ่งจะใช้รูปแบบระบบราชการแบบไหน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน หากเป็นงานทั่วไปที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน ให้ใช้รูปแบบระบบราชการแบบเครื่องจักร แต่หากลักษณะงานเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะด้านสูง เช่น หมอ พยาบาล วิศวกร บัญชี กฎหมาย ให้ใช้ระบบราชการแบบวิชาชีพ เมื่อองค์การขยายใหญ่มากๆ อาจมีการแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยๆ ที่ได้รับการกระจายอำนาจให้บริหารจัดการตัวเองได้ จะเริ่มเปลี่ยนเป็นรูปแบบองค์การแบบสาขา เช่น บริษัทลูกในกลุ่มบริษัทแม่ หรือ กรมในกระทรวง เป็นต้น สำหรับในกรณีที่มีภารกิจพิเศษ หรือมีงานที่เป็นโครงการเฉพาะกิจ ซึ่งมีระยะเวลาจำกัดที่ชัดเจนและต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความชำนาญในการทำงานนั้นๆ อาจตั้งองค์การแบบโครงการขึ้นมาทำโครงการนั้นเป็นพิเศษได้ และเมื่อโครงการนั้นสำเร็จแล้ว จึงสลายองค์การแบบโครงการไป
 

ความรู้ทั่วไปสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งในสภาวะปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้น อันสืบเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม การดำรงชีวิตประจำวัน ทางโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่นได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดตั้งศูนย์เบาหวานขึ้น เพื่อตอบสอนงความต้อการของผู้มาใช้บริการ ซึ่งประกอบด้วยคณะแพทย์ โภชนากรและทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคเบาหวานโดยเฉพาะ ซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำและทำการรักษาโรคทางเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณหมอโรคเบาหวาน...แนะนำคนไข้


โรคเบาหวาน

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ตามปกติ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 180 mg/dl ซึ่งเป็นจุดที่ไตสามารถควบคุมน้ำตาลไม่ให้ออกมาในปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของคำว่า “ เบาหวาน” ซึ่งแปลว่าปัสสาวะที่มีรสหวาน ปัจจุบันเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ใช้อาศัยน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังจากอดอาหารข้ามคืน มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 mg/dl ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานอาจตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะก็ได้ ในคนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ประมาณ 70-100 mg/dl หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 mg/dl


ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร

ร่างกายคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต พลังงานเหล่านี้ได้มาจากอาหารต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไป อาหารประเภทแป้งจะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดส่งผ่านไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ จำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนจากตับอ่อน คือ อินซูลิน ทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย

เราอาจจะแยกเบาหวานได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุที่เกิด
1. เบาหวานชนิดชนิดที่ 1 มักพบในเด็ก หรือคนอายุน้อย ประเภทนี้ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน อาการแรกพบมักจะรุนแรง น้ำตาลในเลือดสูง ร่วมกับร่างกายมีภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตน 2. เบาหวานชนิดที่ 2 เรามักจะพบประเภทนี้มากประมาณ 95-97 % ของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 40 ปี และมักจะอ้วน ร่วมกับมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตับอ่อนยังสร้างอินซูลินได้บ้าง และร่างกายมักจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษาในระยะแรกอาจเพียงควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล แต่เมื่อเป็นไปนานๆ ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน 3. เบาหวานชนิดอื่นๆ ที่มีสาเหตุเฉพาะ เช่น โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคที่เกิดจากฮอร์โมนอื่นๆ ผิดปกติ การได้รับยาบางชนิด
4. โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ประเภทนี้ผู้ป่วยจะไม่มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ และตรวจพบเป็นเบาหวานเฉพาะขณะตั้งครรภ์ จากการที่ฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน เป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ถ้าบุคคลนั้นไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินให้เพียงพอจะทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งหลังคลอดมักจะพบว่าโรคเบาหวานหายไป แต่เมื่อติดตามต่อไป พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานได้มาก

โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร
1. ประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลินลดลง ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน 2. การสร้างอินซูลินของตับอ่อนลดลง หรือไม่สร้างเลย

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
1. ตรวจพบได้ชัดเจน โดยการตรวจน้ำตาลในเลือดตอนเช้าก่อนรับประทานอาหาร 2 ครั้งขึ้นไป และทั้ง 2 ครั้งมีค่าเท่ากับ หรือมากกว่า 126 mg/dl 2. เจาะเลือดหลังอาหาร น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 200 mg/dl

อาการของคนเป็นเบาหวาน
1. อาจจะไม่มีอาการอะไรเลย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก 2. อาการที่พบบ่อยที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่

* ปัสสาวะบ่อยและมาก ทั้งกลางวันและกลางคืน คนปกติมักจะไม่ต้องลุกมาปัสสาวะกลางดึก หรืออย่างมากก็ปัสสาวะ 1 ครั้ง แต่ในคนที่เป็นเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินความสามารถของไตในการกั้นมิให้น้ำตาลออกมาในปัสสาวะ ซึ่งน้ำตาลที่ออกมาจะดึงน้ำออกมาด้วย ยิ่งน้ำตาลสูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งปัสสาวะมากและบ่อยมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกหลายครั้ง * คอแห้ง กระหายน้ำมาก ดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการเสียน้ำทางปัสสาวะมาก หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ จึงต้องสลายพลังงานจากกล้ามเนื้อและไขมันในร่างกายไปใช้แทน จึงทำให้น้ำหนักลด อ่อนเพลีย และร่างกายขาดพลังงาน ทำให้หิวบ่อย * ตาพร่ามัว * ผิวหนังอักเสบ เป็นฝีบ่อย แผลหายช้า คันตามผิวหนัง จากผิวหนังแห้งหรืออักเสบ คันในช่องคลอดจากการติดเชื้อรา

ผู้ใดมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน
1. ผู้ที่มีประวัติเป็นเบาหวานในครอบครัว เช่น พ่อแม่ พี่น้องสายตรง คนในครอบครัวมีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น 2. ความอ้วน 3. การไม่ได้ออกกำลังกาย 4. ผู้สูงอายุ 5. โรคตับอ่อนบางชนิด เช่น ตับอ่อนอักเสบ 6. การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ 7. การตั้งครรภ์

เมื่อเป็นเบาหวานแล้ว จะรักษาหายขาดได้หรือไม่
เบาหวานโดยทั่วไปไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเมื่อเป็นเบาหวานนานๆ เข้า ความรุนแรงของโรคมักจะมากขึ้นและต้องใช้ยามากขึ้น ฉะนั้นจึงต้องรักษาเบาหวานตั้งแต่เมื่อพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันเบต้าเซลล์ของตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินมิให้เสื่อมเร็ว ซึ่งจะชะลอหรือยับยั้งไม่ให้เบาหวานเป็นรุนแรงได้นานๆ

การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บป่วย ไม่มีความไม่สบายกายแต่อย่างใดเป็นระยะเวลานาน จึงมักจะไม่อยากมาพบแพทย์ตามนัด หรือมาตรวจพบว่าเป็นเบาหวานได้รับยาไปครั้งหนึ่ง ครั้งต่อๆ ไปมักจะซื้อยากินเอง จึงมักพบว่าส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานและไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติอย่างสม่ำเสมอจะเกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเมื่อมีความรุนแรงมากขึ้นจะเกิดความเจ็บป่วยทรมานอย่างถาวร

การดูแลสุขภาพทั่วไปในชีวิตประจำวัน

1. ควบคุมเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลใกล้เคียงคนปกติ 2. รับประทานยาสม่ำเสมอ 3. อาจจะมีการติดตามตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง 4. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง โดยเลือกรับประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายตนเอง 5. พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การรับประทานอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี อย่าปล่อยให้น้ำหนักขึ้นหรืออ้วน เพราะจะทำให้การคุมเบาหวานยากขึ้น 6. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ หลังอาหารทุกมื้อควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อเอาเศษอาหารที่ติดค้างออกจนหมด ใช้แปรงสีฟันที่ขนไม่แข็งจนเกินไป
7. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้สบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน รักษาความสะอาดบริเวณซอกอับ เช่น ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่าย เป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการอับชื้น 8. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ทุกวัน ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนู โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า 9. สวมเสื้อผ้าแห้ง สะอาด ระบายอากาศได้ดี และควรเปลี่ยนทุกวัน 10. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง 11. หลีกเลี่ยงความเครียดทางอารมณ์ ในภาวะเครียดร่างกายและฮอร์โมนต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ 12. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว 13. ควรพบแพทย์สม่ำเสมอตามนัด แม้จะรู้สึกสบายดี เพื่อรับการตรวจสุขภาพและคำแนะนำที่ถูกต้อง พร้อมปรับแผนการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดในโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวหรือมีอาการ

สุขภาพตา

ผู้ป่วยเบาหวานที่ระดับน้ำตาลในเลือดคุมได้ไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนทางตาได้ง่าย เช่น ต้อกระจก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเร็วก่อนวัย การเสื่อมของจอรับสายตา จึงควรที่จะ

1. พบจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพตา จะตรวจโดยการขยายม่านตา แม้ว่าสายตายังมองเห็นชัดดี ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (มักพบในเด็ก หรือคนอายุน้อย) ควรเริ่มได้รับการตรวจตาเมื่อเป็นเบาหวานมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 40 ปีและมักจะอ้วน ร่วมกับมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว) ควรได้รับการตรวจตาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน 2. การตรวจโดยการขยายม่านตา จะทำให้ผู้ได้รับการตรวจมีอาการตามัว 3-4 ชั่วโมงหลังการตรวจ จึงไม่ควรขับรถมาเองในวันที่ตรวจตา หรืออาจจะมีญาติมาด้วย เพื่อที่จะพากลับบ้านได้สะดวก 3. ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ควรได้รับการตรวจตาทุก 3 เดือน

การจะวัดสายตาประกอบแว่น ทั้งสายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ ควรจะทำเมื่อควบคุมเบาหวานได้ดีแล้ว ถ้ามีอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัวทันที มีอาการปวดตามาก เห็นภาพ หรือเส้นลอยในตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์

สุขภาพช่องปากและฟัน

ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดเหงือกและฟันอักเสบมากกว่า และรุนแรงกว่าคนปกติ ขณะเดียวกันในผู้ป่วยที่มีโรคเหงือกและฟันอักเสบก็จะทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้ยาก

1. ควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ฟันและ จากทันตแพทย์ทุก 6 เดือน 2. หมั่นรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 3. เมื่อมีเลือดออกบริเวณเหงือกหลังจากรับประทานอาหารหรือแปรงฟัน อาจจะแสดงถึงเมื่อมีการอักเสบของเหงือก หรือเมื่อมีฝ้าขาวของเชื้อราในช่องปาก ควรปรึกษาทันตแพทย์

สุขภาพเท้า

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลที่เท้า คนไข้เบาหวานมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้มากกว่าคนปกติจาก

1. การที่เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม จากน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นานๆ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเหยียบของมีคม หรือถูกกดรัดนานๆ หรือโดนความร้อน จึงทำให้เกิดแผลโดยไม่รู้ตัว 2. เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อ เกิดการคันง่าย เมื่อเกาเกิดเป็นแผลแตกติดเชื้อ 3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ไปเลี้ยงเท้าตีบตัน เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อของเท้า เกิดเนื้อตายง่าย หรือเมื่อเกิดเป็นแผลหายยาก 4. ติดเชื้อง่าย น้ำตาลในเลือดที่สูงๆ ทำให้ความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อลดลง เมื่อติดเชื้อโรคจะลุกลามเร็ว


วิธีการดูแลเท้า

1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำธรรมดาและสบู่อ่อนๆ ไม่ใช้แปรงหรือ ขนแข็งๆ ขัดเท้า ไม่ควรแช่เท้าด้วยน้ำร้อน ถ้าจะทำก็อาจใช้น้ำอุ่นน้อยๆ และไม่แช่นานเกิน 5 นาทีไม่ใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางบนขา หรือ เท้า
2. ถ้าผิวแห้งคัน ทาครีมบางๆ โดยเว้นบริเวณซอกนิ้วเท้าและรอบเล็บ ถ้าผิวหนังชื้นให้โรยด้วยแป้งฝุ่น
3. สำรวจเท้าตนเองทุกวัน ว่ามีรอยแผล เม็ดพอง ผิวหนังสีคล้ำ โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า ซอกนิ้ว รอบเล็บ บริเวณที่ยากต่อการดู เช่น ส้นเท้า ฝ่าเท้าอาจใช้กระจกช่วย ถ้าไม่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง ควรให้ญาติช่วยดูให้ ถ้าพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
4. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ทั้งในบ้านและนอกบ้าน ควรสวมรองเท้าตลอดเวลา
5. ควรสวมถุงเท้าทุกครั้งที่สวมรองเท้า ใช้ถุงเท้าฝ้ายเนื้อนุ่มไร้ตะเข็บ เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีและไม่เกิดการเสียดสี ถุงเท้าไม่รัดแน่นจนเกินไป
6. ห้ามตัดตาปลา หนังหนาๆ หรือใช้น้ำยาแรงๆ จี้หูดด้วยตนเอง
7. การตัดเล็บเท้า ให้ตัดเล็บตรงๆ เสมอปลายเท้า อย่าตัดเล็บโค้งเข้าจมูกเล็บ หรือตัดลึกมาก เพราะจะเกิดแผลได้ง่าย
8. ควรตัดเล็บหลังล้างเท้า หรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บอ่อนตัดง่าย ถ้าตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
9. ไม่ใช้วัตถุแข็งๆ แคะซอกเล็บ เพราะอาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
10. ถ้ามีเล็บขบ หรือมีบาดแผล ควรปรึกษาแพทย์
11. บริหารเท้าเป็นประจำทุกวัน จะช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงเท้าได้ดีขึ้น
12. ไม่ควรสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดเส้นเลือดตีบตันทำให้การไหลเวียนเลือดลดลง

การเลือกและการใช้รองเท้า

1. เลือกรองเท้าที่ขนาดพอเหมาะ ไม่คับหรือหลวมเกินไป ขนาดรองเท้ายาวกว่านิ้วเท้า ที่ยามที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว ส้นไม่สูง รองเท้าที่มีแผ่นรองรับแรงกระแทกภายใน จะช่วยลดแรงกดในฝ่าเท้าได้ดี เช่น รองเท้ากีฬา
2. การซื้อรองเท้า ควรเลือกซื้อช่วงบ่ายหรือเย็นเนื่องจากเท้าจะขยายตัวเต็มที่
3. ควรเลือกรองเท้าหนัง หรือรองเท้ากีฬา เพราะจะระบายอากาศได้ดีกว่ารองเท้าพลาสติก
4. เลือกรองเท้าที่มีเชือกผูก หรือสายรัด เพื่อลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าขณะสวม
5. ก่อนใส่รองเท้า ให้ตรวจในรองเท้าว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น กรวด ทราย ดิน ตะปู แมลง อยู่หรือไม่ เพื่อป้องกกันการเกิดแผล
6. เมื่อใช้รองเท้าคู่ใหม่ ควรเริ่มสวมครั้งละประมาณ 20-30 นาที แล้วเปลี่ยนเป็นคู่เก่า และค่อยๆปรับเพิ่มเวลา ตามความเหมาะสม
7. คอยสังเกตุตุ่มพอง รอยแตกทุกครั้งหลังใส่รองเท้าใหม่
8. ควรมีรองเท้าใส่สลับกันหลายคู่

แนวทางการบริโภคอาหารที่ดีในผู้ป่วยเบาหวาน

seafood_03_1.jpg เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เบาหวานเกิดจากความไม่สมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดกับจำนวนอินซูลินที่หลั่งออกมาจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนเมื่อร่างกายมีระดับอินซูลินที่ไม่เหมาะสมกับระดับน้ำตาลในเลือด มีน้อยไปหรือออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควรจึงเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั่วร่างกาย เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หลอดเลือดแดงตีบและตัน ซึ่งทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมองขาดเลือด โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น
การเลือกกินอาหารที่ถูกต้อง จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี ป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนลงได้ ผู้ที่เป็นเบาหวานควรที่จะศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ ปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ เกี่ยวกับวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของแต่ละบุคคล โรคปลายประสาทเสื่อม เป็นต้น
ข้อสำคัญพึงตระหนักว่า การคุมอาหารมิใช่การอดอาหาร แต่เป็นการปรับปริมาณและชนิดให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล ทั้งนี้จะต้องเปลี่ยนอุปนิสัยการบริโภคซึ่งควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิให้เกิดความเครียด พึงคิดเสมอว่าอาหารที่เหมาะสมสำหรับคนเป็นเบาหวาน ก็มิได้แตกต่างจากอาหารที่คนทั่วๆ ไปควรจะรับประทานแต่คนเรามักจะตามใจปาก มิได้คำนึงถึงคุณภาพของอาหารที่รับประทานเข้าไปว่าจะเป็นประโยชน์หรือให้โทษแก่ร่างกาย คิดถึงแต่ความอร่อย ฉะนั้นการปรับอุปนิสัยในการบริโภคเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้คนที่เป็นเบาหวานควบคุมโรคได้ดีขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ คนไข้เบาหวาน ควรจะเรียนรู้อาหารคาร์โบไฮเดรต 3 ประเภท

icecream.jpg 1) ประเภทต้องห้าม ได้แก่

- อาหารน้ำตาลและเบาหวาน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สัขยา
- ผลไม้กวนต่างๆ เช่น ทุเรียนกวน น้ำหวานต่างๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้
- นมข้นหวาน
- ผลไม้เชื่อม ผลไม้กระป๋อง

2) ประเภทรับประทานได้ในปริมาณพอเหมาะ

- อาหารพวกแป้ง ข้าว ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน
- ผักประเภทหัว ที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาลมาก เช่น เผือก มัน มันฝรั่ง ฟักทอง แครอท
- ผลไม้ต่างๆ

fruit_01.jpgการเลือกรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตให้ได้คุณภาพ ควรคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ

1. ปริมาณใยอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้น
2. ไกลซีมิค อินเดกซ์ (Glycemic Index)

ใยอาหาร จะทำให้การดูดซึมอาหารช้าลง จึงควรจะได้รับใยอาหารวันละประมาณ 40 กรัม


ไกลซีมิค อินเดกซ์ เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานถ้าไกลซีมิค อินเดกซ์ มีค่าเท่ากับ 100 แสดงว่าดูดซึมได้เร็วเท่าอาหารมาตรฐาน

ถ้าค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่า อาหารนั้นดูดซึมช้า
    ถ้ามากกว่า 100 แสดงว่า ดูดซึมมากกว่าอาหารมาตรฐาน

อาหารที่ควรรับประทานในคนเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิค อินเดกซ์ ต่ำ
* ข้อมูลจากหนังสือ การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน พิมพ์คัร้งที่ 3 โครงการตำราอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ *
3) ประเภทรับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ได้แก่
ผักใบเขียวทุกชนิด ผักกาด ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ต้นหอม บวบ ใบโหระพา ใบสะระแหน่ แตงกวา แตงล้าน สายบัว พริกหนุ่ม เป็นต้น
ปริมาณพลังงาน และอาหารที่ควรได้รับในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
เนื่องจากเกือบครึ่งของคนไข้ประเภทนี้ มักจะมีภาวะโภชนาการเกิน และกินอาหารโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ดี ทำให้มีปัญหาในการรักษาน้ำหนักตัวระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด การลดพลังงานอาหารลงไปบ้าง โดยกำหนดให้ประมาณวันละ 20-25 แคลอรี่ ต่อ กิโลกรัมน้ำหนักตัวมาตรฐาน จะช่วยลดน้ำหนัก จะช่วยลดน้ำหนักตัวอย่างช้าๆ และคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
ในคนมีน้ำหนักตัวปกติ ควรจะได้พลังงาน 25-30 แคลอรี่ / กิโลกรัม-น้ำหนักตัวมาตรฐาน
สัดส่วนของพลังงานอาหารที่เหมาะสม คือ
* อาหารโปรตีน ที่ควรจะได้รับควรเป็น โปรตีนที่มีคุณภาพดี และมีไขมันต่ำ ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือหนัง ปลา เต้าหู้ ประมาณ 10-14 ช้นโต๊ะ/วัน
* อาหารไขมัน ควรจะเป็นไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์น้อยที่สุด เพราะไขมันจากสัตว์จะเป็นตัวส่งเสริมให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ลดการใช้น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใช้น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ในการปรุงอาหาร ควรประกอบอาหารด้วยวิธีต้ม ย่าง นึ่ง หลีกเลี่ยงของทอด ถ้าจะผัดควรใช้น้ำมันจำนวนน้อย
ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย (โภชบัญญัติ 9 ประการ) จะช่วยเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยมีหลักปฏิบัติ ต่อไปนี้
vegetable.jpg 1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินให้พอกับความต้องการของร่างกายและกินดี คือ แต่ละหมู่ให้หลากหลายไม่ซ้ำซากและจำเจ
2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้าเป็นข้าวที่มีใยอาหารด้วยจะดี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารข้าวอาจจะสลับกับอาหารแป้งเป็นบางมื้อได้ เช่น เป็นก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ขนมจีน
3. กินพืชผักให้มาก กินผลไม้ประจำและพอเหมาะ
4. กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นประจำและพอเหมาะ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร
7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด
8. กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ
ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1. เพื่อช่วยชีวิต
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
4. เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ( Triangular bandages)
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม เมื่อมีบาดแผลต้องใช้ผ้าพันแผล ซึ่งขณะนั้นมีผ้าสามเหลี่ยม
สามารถใช้ผ้าสามเหลี่ยมแทนผ้าพันแผลได้ โดยพับเก็บมุมให้เรียบร้อย และก่อนพันแผลต้องพับผ้าสามเหลี่ยมให้มีขนาดเหมาะสมกับบาดแผล และอวั ยวะ
1. การคล้องแขน (Arm sling)
ในกรณีที่มีกระดูกต้นแขนหัก หรือกระดูกปลายแขนหัก เมื่อตกแต่งบาดแผล
และเข้าเฝือกชั่วคราวเรียบร้อยแล้ว จะคล้องด้วยผ้าสามเหลี่ยมตามลำดับดังนี้
1.1 วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกข้างที่เจ็บ
ให้ชายผ้าด้านพบพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง
1.2 จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียว
กับแขนข้างที่เจ็บ
1.3 ผูกชายทั้งสองให้ปมอยู่ตรงร่องเหนือกระดูกไหปลาร้า
1.4 เก็บมุมสามเหลี่ยมโดยใช้เข็มกลัดติดให้เรียบร้อย
2. การพันมือ ใช้กรณีที่มีบาดแผลที่มือ ทำตามลำดับดังนี้
2.1 วางมือที่บาดเจ็บลงบนผ้าสามเหลี่ยม จับมุมยอดของผ้าสามเหลี่ยม
ลงมาด้านฐานจรดบริเวณข้อมือ
2.2 ห่อมือโดยจับชายผ้าทั้งด้านซ้ายและขวาไขว้กัน
2.3 ผูกเงื่อนพิรอดบริเวณข้อมือ
แผลงูพิษกัด
1. ดูรอยแผล ถ้างูไม่มีพิษแผลจะเป็นรอยถลอก ให้ทำแผลแบบ แผลถลอก
แล้วถ้าแผลไม่ลุกลามหรือไม่มีอาการอื่น ไม่ต้องไปหาหมอ แผลจะหายเอง ถ้างูมีพิษจะมีรอยเขี้ยว 1 หรือ 2 จุด ให้รักษาตามข้อ 2-7
2. พูดปลอบใจอย่าให้กลัวหรือตกใจ, ให้นอนนิ่งๆ, ถ้าจำเป็นให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
3. ห้ามให้ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือยากล่อมประสาท
4. ห้ามใช้มีดกรีดปากแผล ห้ามบีบเค้นบริเวณแผล เพราะจะทำให้แผลช้ำ
สกปรก และทำให้พิษกระจายเร็วขึ้น.
5. ห้ามขันชะเนาะรัดแขนหรือขา เพราะจะเกิดอันตรายมากขึ้น
6. รีบพาไปหาหมอ, ถ้าเป็นไปได้ควรนำซากงูที่กัดไปด้วย
7. ถ้าหยุดหายใจ ให้ เป่าปากช่วยหายใจ

จุดกำเนิดของเทคโนโลยีสารสนเทศ

หากจะกล่าวถึงจุดกำเนิดของเทคโนโลยีกันแล้ว ในทางทฤษฎีของกระบวนการหรือวิธีการนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก ต่อการอธิบาย แต่หากเรามามองถึงปัจจัยทางโครงสร้างนั้นจะพบว่าเป็นการหลอมรวมกันระหว่าง เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ ที่เป็นระบบของข้อมูลของแต่ละแขนงเข้าด้วยกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของ (1) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และ (2) เทคโนโลยีโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน ได้แก่


(1) เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
ในด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถือเป็นวิวัฒนาการส่วนขยาย ที่แตกแขนงออกมา และกลายเป็นเส้นทางที่ยิ่งใหญ่ แผ่กระจายออกไปในหลายมิติ

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
โดยเฉพาะเทคโนโลยีในระบบดิจิตอลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการเริ่มต้นมาจากทรานซิสเตอร์ (Transistor) สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) จนถึงวงจรรวมสารกึ่งตัวนำขนาดใหญ่มาก (Very large scale integration (VLSI) semiconductors) พัฒนาการนั้นส่งผลให้มีการเพิ่มอัตราส่วนของราคา และคุณภาพรวมทั้งขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เล็กลงแต่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ปัจจุบันสถาปัตยกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture) ไม่ได้ยึดติดที่รูปแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่พบเห็นในปัจจุบัน แต่คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาจากอุปกรณ์ขนาดใหญ่(ที่ตั้งกับที่) ไปสู่รูปลักษณะที่สามารถนำพาไปในที่ต่างๆได้ (เช่น notebook และ netbook) บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รวมถึงผู้พัฒนาองค์ประกอบต่างๆหลายแห่ง ได้ให้ความสำคัญของการพัฒนาอุปกรณ์ทีทำงานในบางหน้าที่เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสะดวกในการใช้งานเฉพาะอย่างที่สำคัญมีขนาดบางหรือเล็ก สามารถพกพาไปได้ (อาทิ Tablet หรือ Ultrabook)



(2) เทคโนโลยีโทรคมนาคม
ในส่วนของเทคโนโลยีโทรคมนาคม มีปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ เทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล และเทคโนโลยีการสื่อสาร

เทคโนโลยีเครือข่าย
โดยเฉพาะเครือข่าย Integrated services digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN เนื่องจากทั้งเสียงและข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นดิจิตอลบิต (Digital Bit) เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์หมดไป ผู้ใช้สามารถพูดคุยและส่งข้อมูลจำนวนมากบนสายเดียวกัน ประกอบกับการที่เครือข่ายดังกล่าวใช้เทคนิคการส่งผ่านข้อมูลและการสลับสายที่ก้าวหน้าที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode : ATM จะส่งผลให้บริการสื่อมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล (Digitized multi-media) ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย





เทคโนโลยีการสื่อสาร (Telecommunications Transmission Technology)เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย

ธงชาติอาเซี่ยน

ธงชาติอาเซียน



สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

  • สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
  • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
  • สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
  • สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ธงชาติลาว



ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับการออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว

  • สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
  • พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง

ธงชาติบรูไน



"บรูไนดารุสซาลาม" (แปลว่า นครแห่งสันติสุข) ลักษณะของธงชาตินั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีขาวและสีดำวางพาดตามแนวทแยงมุม จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บน สีดำอยู่ล่าง กลางธงนั้นมีภาพตราแผ่นดินของบรูไน

  • พื้นธงสีเหลือง หมายถึงกษัตริย์ (ธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง)
  • สีขาวและสีดำ หมายถึงมุขมนตรีของประเทศบรูไน

ธงชาติเมียรม่าร์



มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน พื้นสีเหลือง สีเขียว และสีแดง เรียงตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ความหมายของสัญลักษณ์ในธงชาติประกอบด้วย

  • สีเขียวหมายถึงสันติภาพ ความสงบ และความอุดมสมบูรณ์ของพม่า
  • สีเหลืองหมายถึงความสามัคคี สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง เด็ดขาด
  • ดาวสีขาวหมายถึงสหภาพอันมั่นคงเป็นเอกภาพ

ธงชาติกัมพูชา



มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ผืนธงแบ่งตามแนวยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นกว้างริ้วละ 1 ส่วน

  • พื้นสีน้ำเงิน ความหมายของสัญลักษณ์ในธงนั้นสะท้อนถึง 3 สถาบันหลักของประเทศ ดังปรากฏในคำขวัญประจำชาติว่า "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" (เขมร: )
  • พื้นสีแดงมีความหมายถึงชาติ ปราสาทนครวัดสีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ซึ่งเดิมมีรากเหง้าจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

ธงชาติเวียตนาม



ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ธงชาติสิงคโปร์



เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสองสีแบ่งครึ่งกลางธง แถบสีแดงอยู่ด้านบน แถบสีขาวอยู่ด้านล่าง ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปพระจันทร์เสี้ยว ถัดจากรูปดังกล่าวมีรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงเป็นรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า รูปเหล่านี้เป็นสีขาว ความหมายสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในธง อันได้แก่

  • สีแดง หมายถึงภราดรภาพและความเสมอภาคของมนุษย์โดยทั่วหน้า
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์และความดีงามที่แพร่หลายและคงอยู่ตลอดกาล
  • รูปพระจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น หมายถึงความเป็นชาติใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้น ดาว 5 ดวง หมายถึงอุดมคติ 5 ประการของชาติ ได้แก่ ประชาธิปไตย สันติภาพ ความก้าวหน้า ความยุติธรรม และความเสมอภาค

ธงชาติมาเลเซีย



หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ยาลูร์ เกมิลัง" ("Jalur Gemilang" มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตัง เปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"

  • แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
  • ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
  • พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
  • สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ
  • สีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย

ธงชาติฟิลิปปินส์



มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม สามเหลี่ยมสีขาวเป็นเครื่องหมายแทนความเสมอภาคและภราดรภาพ

  • พื้นสีน้ำเงินหมายถึงสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรม
  • พื้นสีแดงหมายถึงความรักชาติและความมีคุณค่า
  • รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกหมายถึงแปดจังหวัดแรกของประเทศ อันได้แก่ จังหวัดบาตังกาส, จังหวัดบูลาคัน, จังหวัดคาวิเต, จังหวัดลากูนา, จังหวัดมะนิลา, จังหวัดนูเอวา เอคิยา, จังหวัดปัมปังกา และจังหวัดตาร์ลัค ซึ่งพยายามเรียกร้องเอกราชจากสเปนและฝ่ายสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านั้นเมื่อเริ่มเหตุการณ์การปฏิวัติฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
  • ดาวสามดวงหมายถึงหมายถึงการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะวิสายัน

ธงชาติอินโดนีเซีย



รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ซังเมราห์ปูติห์" ("Sang Merah Putih", สีแดง-ขาว) เป็นธงที่มีต้นแบบมาจากธงประจำอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน

  • สีแดง หมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ
  • สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ยุติธรรม

ธงชาติไทย



เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ

  • ชาติ (สีแดง)
  • ศาสนา (สีขาว)
  • พระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน)

สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี) ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์